รัฐศาสตร์ทั่วไป (สรุป)

เกี่ยวกับรายวิชา (โดยสรุป)

  1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวิชารัฐศาสตร์ ที่มาของคำสำคัญทางการเมือง เช่น คำว่า การเมือง มาจากภาษาอังกฤษ คือ “politics” คำว่ารัฐศาสตร์มาจากภาษาเยอรมัน “Staatswissenschaft” เป็นต้น ความหมายหรือนิยามของการเมืองของนักวิชาการคนสำคัญ ความเป็นของวิชารัฐศาสตร์ ตลอดจนแนวทางสำคัญในการศึกษาทางการเมือง
  2. ความเชื่อมโยงของวิชารัฐศาสตร์กับศาสตร์แขนงต่างๆ เช่น ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ภูมิศาสตร์ จิตวิทยา เป็นต้น
  3. วิวัฒนาการและรูปแบบของการจัดองค์การทางการเมือง ซึ่งเริ่มตั้งแต่การเกิดชุมชนทางการเมืองยุคแรก คือ ชนเผ่า กระทั่งวิวัฒนาการเป็นนครรัฐ จักรวรรดิ ศักดินา รัฐสมัยใหม่หรือรัฐชาติ องค์ประกอบสำคัญของรัฐสมัยใหม่และรัฐชาติ ลักษณะของอำนาจอธิปไตย
  4. ที่มาและจุดมุ่งหมายของรัฐ ซึ่งต้องทำความเข้าใจถึงทฤษฎีที่อธิบายการเกิดรัฐทั้งสิ้น 8 ทฤษฎี รวมถึงการอธิบายถึงจุดมุ่งหมายของการเกิดรัฐของนักปรัชญาคนสำคัญ เช่น อริสโตเติล, จอห์น ล็อก ตลอดจนการอธิบายจุดมุ่งหมายของการสร้างรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นรัฐที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่รัฐแรกของโลก จุดมุ่งหมายของการสร้างรัฐของประเทศอินเดีย เป็นต้น
  5. การทำความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ นิยาม ความหมาย ประเภทต่างๆ ของรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ตลอดจนที่มา และเนื้อหาสาระโดยทั่วไปของรัฐธรรมนูญ
  6. การทำความเข้าใจรูปแบบการปกครองที่เสนอไว้โดยนักคิดคนสำคัญ เช่น อริสโตเติล, แมคไคเวอร์ รวมถึงการทำความเข้าใจถึงการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของบางประเทศ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เป็นต้น
  7. การทำความเข้าใจเกี่ยวกับมโนทัศน์ อุดมการณ์สำคัญทางการเมือง เช่น คอมมิวนิสต์ เสรีนิยม อนุรักษ์นิยม อำนาจนิยม อุดมการณ์ฝ่ายขวา เป็นต้น
  8. การทำความเข้าใจการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทั้งในส่วนของความหมาย ประเภทหรือรูปแบบของระบอบประชาธิปไตย ปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาประชาธิปไตย เป็นต้น
  9. การทำความเข้าใจสถาบันสำคัญของการปกครอง เช่น รัฐสภา พรรคการเมือง
  10. การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างการพัฒนาทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ตลอดถึงการมีส่วนร่วมทางการเมือง ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการเมืองระบอบประชาธิปไตย
  11. การทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นพื้นฐานของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อันหมายรวมถึงเรื่องของการสร้างความมั่นคงและกำลังอำนาจแห่งชาติ แนวคิดทฤษฎีสำคัญของการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
  12. การทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นพื้นฐานของการบริหารรัฐกิจหรือรัฐประศาสนศาสตร์ ทั้งนิยาม ความเป็นมา และแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารงานภาครัฐสำคัญ เช่น POSDCORB เป็นต้น

 วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบ ขอบเขตและสาระของรัฐศาสตร์ในเชิงสหวิทยาการ การศึกษาแนวความคิดและหลักการใหญ่ ๆ ในเรื่องของรัฐ การเมือง ระบบการปกครอง พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ ประเด็นสำคัญในทางประวัติศาสตร์ เช่น การพัฒนาการเมือง การพัฒนาประชาธิปไตย ความคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการบริหารรัฐกิจ
  2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายถึงขอบเขตและความเป็นมาของวิชารัฐศาสตร์ ตลอดจนประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง แนวคิดทฤษฎีสำคัญ ทั้งในด้านการปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และบริหารรัฐกิจ
  3. เพื่อให้ผู้เรียนได้รู้ประเด็นสำคัญของการศึกษาทางรัฐศาสตร์และการเมือง ทั้งความเป็นมา ขอบเขต แนวทางสำคัญ รูปแบบการปกครอง ทฤษฎีเกี่ยวกับรัฐ อุดมการณ์สำคัญทางการเมือง และประเด็นสำคัญอื่นๆ ทั้งในเรื่องของการพัฒนาการเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การบริหารงานภาครัฐหรือบริหารรัฐกิจ
centered image